ครม. อนุมัติ โครงการชดเชยดอกเบี้ยไร่อ้อย ปี 65-67 โดยให้การช่วยเหลือดอกเบี้ย 2-3% ภายในโครงการเงินกู้ของ ธ.ก.ส. 6 พันล้านบาท โครงการชดเชยดอกเบี้ยไร่อ้อย 65-67 – (31 พ.ค. 2565) ครม.เห็นชอบโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อใช้ในการบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี 2565 – 2567
โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
เป็นผู้สนับสนุนสินเชื่อให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย วงเงินปีละ 2,000 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 6,000 ล้านบาท และรัฐบาลเป็นผู้ชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 2 – 3% ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย ซึ่ง ครม.อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. เป็นเงิน 789.75 ล้านบาท ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยนี้ มีเป้าหมายเพื่อจัดหาแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย การปรับพื้นที่ปลูกอ้อยเป็นแปลงใหญ่ และการจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร ใช้ในการปลูกอ้อยและบริหารจัดการไร่อ้อยอย่างครบวงจร
โดยวงเงินกู้แยกตามวัตถุประสงค์การกู้ ซึ่งวงเงินกู้แต่ละรายรวมทุกวัตถุประสงค์แล้วต้องไม่เกิน 38.05 ล้านบาท ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย รายละไม่เกิน 500,000 บาท เช่น การขุดบ่อสระ กักเก็บน้ำ การเจาะบ่อบาดาล การจัดทำระบบน้ำ
2. เพื่อปรับพื้นที่ปลูกอ้อย เป็นแปลงใหญ่ให้เหมาะสมกับเครื่องจักรกลการเกษตร รายละไม่เกิน 500,000 บาท ในอัตราไม่เกินไร่ละ 2,500 บาท
3. เพื่อจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร เช่น รถตัดอ้อย รายละไม่เกิน 15 ล้านบาท รถคีบอ้อย รายละไม่เกิน 2 ล้านบาท รถแทรกเตอร์ รายละไม่เกิน 6 ล้านบาท มีระยะเวลาจ่ายเงินกู้ 3 ปี (1 ต.ค.2564 – 30 ก.ย.2567)
สำหรับระยะเวลาการชำคืน แบ่งเป็นเงินกู้การบริหารจัดการน้ำและปรับพื้นที่ปลูกอ้อย ไม่เกิน 6 ปี ส่วนการซื้อเครื่องจักรกลชำระคืนไม่เกิน 8 ปี โดยคิดอัตราดอกเบี้ยจากผู้กู้ร้อยละ 2 รัฐบาลจะชดเชยให้ ธ.ก.ส.ร้อยละ 2 – 3 ขึ้นอยู่กับประเภทผู้กู้ ยกเว้นการซื้อรถบรรทุก คิดจากผู้กู้ร้อยละ 4 และรัฐบาลจะไม่ชดเชยให้ โครงการนี้จะมีพื้นที่ปลูกอ้อยได้รับประโยชน์ประมาณ 1.5 ล้านไร่ ซึ่งในปี 2562 – 2564 ปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 4,579 ล้านบาท มีพื้นที่ปลูกอ้อยได้รับประโยชน์ 8.4 แสนไร่
กองทุนรวม KF-LATAM
กองทุนเปิดกรุงศรีลาตินอเมริกาอิควิตี้ เป็นการลงทุนในหุ้นของบริาัทที่จัดตั้งขึ้น และมีธุรกิจหลักอยู่ภายในประเทศภูมิภาค ลาติ-อเมริกา กองทุนจะลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ ชื่อ Templeton Latin America Fund ที่จัดอยู่ใน class A (acc) SGD ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายของประเทศลักเซมเบอร์ก โดยมี Templeton Asset Management Ltd. เป็นผู้จัดการกองทุน
กองทุนรวม ASP-DIGIBLOC เป็นการลงทุนประเภทกองทุนรวม SSF กองทุนมีนโยบายลงทุนในตราสารทุนของบริษัทสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Assets Companies) หรือบริษัทที่มีรายได้จากการดำเนินธุรกิจและ/หรือมีความเกี่ยวข้องกับระบบสินทรัพย์ดิจิทัล และ/หรือบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) เช่น เพิ่มประสิทธิภาพหรือลดต้นทุนในการดำเนินงาน
กองทุนรวม KT-MINIG กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ เมทัล แอนด์ ไมน์นิ่ง ฟันด์ กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมที่มุ่งลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ โลหะ และเหมืองแร่ โดยเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Allianz Global Metals and Mining (กองทุนรวมหลัก)
เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (retail fund) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปี บัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
กองทุนรวม SCBEUEQ กองทุนเปิดจากธนาคารไทยพาณิชย์ หุ้นยุโรป ชนิดจ่ายเงินปันผล SCBEUEQ กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ – ลงทุนในตราสารทุน ประเภท European Equity (European focus BM) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ iShares STOXX Europe 600 (DE) (กองทุนหลัก) ซึ่งเป็นกองทุนประเภท Exchange Traded Fund ( ETF) ที่ซื้อขายบนตลาดหลักทรัพย์อิเล็กโทรนิค
ลงทุนในสกุลเงินยูโร โดยมีนโยบายลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี STOXX Europe 600 เพื่อให้ผลการดำเนินงานของกองทุนใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี STOXX Europe 600 ดังกล่าวโดยกองทุนมี net exposure ในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศดังกล่าวโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
กองทุนรวม UVO กองทุนเปิด ยูไนเต็ด เวียดนาม ออพพอร์ทูนิตี้ ฟันด์ กองทุน ที่จะนำเงินส่วนใหญ่ที่ได้จากการระดมทุน ไปลงทุนในหน่วย CIS หรือกองทุนรวม ETF ที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศเวียดนาม หรือที่ผู้ออกตราสารมีธุรกิจหลักในประเทศเวียดนาม
ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม และตราสารทุนของผู้ประกอบการเวียดนามที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศอื่น โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป